วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

วอลเล่ย์บอล


วอลเล่ย์บอล




กติกาการเล่นวอลเล่ย์บอล
ผลการแข่งขัน
ทีมที่ได้คะแนน 15 คะแนนก่อนในแต่ละเซตจะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน (14 – 14) ผู้ชนะในเซตนั้นต้องมีคะแนนมากกว่า 2 คะแนน คือ 16 – 14, 17 – 15 แต่ถ้าชุดในถูกปรับให้เป็นแพ้ ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเท่าที่ทำได้ ส่วนทีมที่ถูกปรับให้คงคะแนนไว้ตามเดิม
ผู้ชนะในการแข่งขัน
ผู้ที่จะชนะการแข่งขัน คือ ชุดที่ชนะ 3 เซตก่อนใน 5 เซต ถ้าชุดใดไม่พร้อมที่จะแข่งขัน ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเซตเท่าที่ทำได้ในเซตนั้น แต่ฝ่ายที่ถูกรับเป็นแพ้ก็คงคะแนนตามเดิมไว้ ทีมที่ไม่พร้อมจะลงแข่งขันให้ปรับชุดนั้นเป็นแพ้ด้วยคะแนน 15 – 0 ในแต่ละเซต และ 3 – 0 เซต ในการแข่งขันนครั้งนั้น ชุดที่ไม่ลงแข่งขันตามกำหนดให้ปรับเป็นแพ้คะแนน เซตละ 15 – 0 ผลการแข่งขัน 3 – 0 เซต
การเสิร์ฟ
เป็นการกระทำเพื่อทำให้ลูกบอลเข้าเล่น โดยผู้เล่นแถวหลังขวายืนอยู่ในเขตเสิร์ฟและตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว จะแบมือหรือกำมือก็ได้ การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือไม่เหยียบเส้นเสิร์ฟ และเสิร์ฟข้ามตาข่ายไปลงยังแดนฝ่ายตรงข้าม
ลำดับการเสิร์ฟ
ผุเล่นจะต้องเสิร์ฟตามลำดับที่ส่งตามใบส่งตำแหน่ง และจะเริ่มเสิร์ฟครั้งแรกเมื่อทีมนั้นชนะเสี่ยง เมื่อเลือกสิทธิ์เสิร์ฟในเซตที่ 1 และเซตที่ 5 หากฝ่ายเสิร์ฟได้คะแนนการเสิร์ฟของคนเดิม การเสิร์ฟก็จะดำเนินไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายเสิร์ฟทำเสียก็จะเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟก็จะหมุนตำแหน่งไป โดยผู้เล่นที่อยู่แถวหน้าขวาเปลี่ยนมาเป็นหลังขวาคือผู้เสิร์ฟ
การเสิร์ฟเสีย
การเสิร์ฟเสียเกิดขึ้นเมื่อผิดลำดับการเสิร์ฟ ไม่เสิร์ฟตามเงื่อนไขของการเสิร์ฟ การพยายามเสิร์ฟ และผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟในสนามยืนกำบังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การถูกลูกบอล
แต่ละชุดสามารถถูกลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (ไม่รวมการสกัดกั้น) และต้องส่งลูกข้ามตาข่ายกลับไปยังแดนคู่ต่อสู้ การถูกลูกบอลทุกครั้งของผู้เล่นนับเป็นการถูกลูกบอลของทีมนั้น ผู้เล่นไม่สามารถถูกลูกบอลสองครั้งติดต่อกัน ยกเว้นการสกัดกั้น ลูกบอลสามารถถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่เอวขึ้นไปได้ แต่เป็นการถูกเพียงครั้งเดียวที่กระดอนให้เห็นโดยชัดแจ้ง ลูกบอลจะต้องถูกตีโดยชัดแจ้ง และไม่เป็นการปัดลูกบอล เช่น ยก ผลัก พา ขว้าง หรือเกี่ยว เพราะการถูกกลูกบอลในลักษณะดังกล่าวถือว่าผิดกติกา
การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย
ขณะการสกัดกั้นอนุญาตให้ถูกลูกบอลที่อยู่เหนือตาข่ายที่อยู่ในแดนคู่ต่อสู้ได้ โดยผู้เล่นต้องไม่รบกวนการเล่นลูกบอลนั้นก่อน หรือระหว่างการเล่นของคู่ต่อสู้ และหลังจากที่ผู้เล่นตบลูก อนุญาตให้มือล้ำเหนือตาข่ายเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ ทั้งนี้จังหวะตบลูกต้องอยู่ในแดนของตนเอง และขณะแข่งขันห้ามไม่ให้ผู้เล่นถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่าย แต่สามารถให้อวัยวะส่วนมือและเท้าล้ำเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนคู่แข่งขัน และผู้เบ่นสามารถสัมผัสแพนคู้ต่อสู้ได้โดยไม่รบกวนหรือเกี่ยวข้องตัวของคู่แข่งขัน ซึ่งการเล่นดังกล่าวสามารถทำได้ เช่น การเหยียบเส้นแบ่งแดน แต่ไม่ใช่ล้ำแดน หรือเลยข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้
ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ตอสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแดนหลังสามารถกระโดตบลูกได้ แต่ต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม้เป็นไปตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การสกัดกั้น
คือ การกระทำของผู้เล่นในแดนหน้าหนึ่งคนหรือมากกว่า อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่มาจากแดนของคู่ต่อสู้ โดยใช้มือหรือแขนยกป้องกัน และจะผิดระเบียบกติกาเมื่อฝ่ายสกัดกั้นทำการสกัดกั้นนอกเสาอากาศ และถูกลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปรบกวนการเล่นของคู่ตอสู้ทั้งก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของคู่ตอสู้จะต้องถูกลงโทษ 2 ลักษณะ คือ เสียคะแนน หรือเปลี่ยนเสิร์ฟ แต่ถ้ามีการทำผิดพร้อมกันทั้งสองทีมจะไม่มีมีการทำโทษ และให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกได้เสิร์ฟลูกใหม่



คลิปการฝึกวอลเล่ย์บอล









การฝึกวอลเลย์บอลขั้นเริ่มต้น 6 (การจำลองเกมในการฝึก)


สิ่งหนึ่งที่ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงเมื่อฝึกเด็กหัดใหม่คือธรรมชาติของผู้ฝึกเลนวอลเลย์บอลจะมีความต้องการเล่นเป็นเกมที่เหหลังจากฝึกทักษะแต่ละอย่างไปแลมือนการแข่งขันมากกว่าฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผู้ฝึกเกิดความเบื่อหน่ายผู้ฝึกสอนสามารถจำลองสถานการณ์เกมการแข่งขันเพื่อใช่ร่วมในการฝึกให้เหมาะกับระดับความสามารถของผู้เริ่มหัดใหม่
ตัวอย่างการนำเกมการแข่งขันมาใช้ร่วมในการฝึก
เกมการขว้างลูกบอลข้ามตาข่าย
วิธีการฝึก
  1. ขนาดสนาม 4.5x18 เมตร
  2. เกม 1x1 ใช้การโยนบอลข้ามตาข่ายไปยังฝั่งคู่ต่อสู้ อีกฝ่ายจะรับลูกบอลและโยนกลับโดยไม่ให้ลูกบอลตกพื้น
  3. เกม 2x2 ใช้หลักการเดียวกันเมื่อรับบอลแล้วให้โยนบอลให้เพื่อนโยนกลับไปยังแดนของคู่ต่อสู้
เกมนี้ใช้วิธีการฝึกโดยใช้การโยนบอลรับบอลข้ามตาข่าย เช่นเดียวกับเกมวอลเลย์บอลจริง เป็นการฝึกสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอลในสถานการณ์การแข่งขัน
ส่งบอลข้ามตาข่าย
วิธีฝึกที่ 1
  1. แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ส่งบอลข้ามตาข่ายด้วยทักษะการส่งบอลด้วยมือล่าง โดยปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้นก่อน 1 ครั้งแล้วส่งลูกกลับไปยังฝั่งคู่ต่อสู้จากนั้นไปต่อท้ายแถว
  2. ผู้ฝึกสอนสามารถกำหนดวิธีการเล่นโดยอาจใช้การเล่นลูกมือล่างหรือมือบนก็ได้
วิธีฝึกที่ 2
ฝึกเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 แต่ไม่ต้องปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้นก่อน
เกม 3x3
วิธีเล่น
  1. แบ่งสนามเป็น 4 ส่วน
  2. ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คนส่งบอลข้ามตาข่ายโดนเริ่มเล่นด้วยการเสริฟลูกมือล่าง
  3. การส่งบอลกลับสามารถปล่อยลูกบอลกระดอนพื้น 1 ครั้งหรือไม่ก็ได้
  4. เปลี่ยนการแข่งขันจากแนวตรงเป็นแนวทแยง
เคลื่อนที่ส่งบอล
วิธีเล่น
  1. ใช้การเสริฟด้วยมือล่าง ก่อนส่งบอลข้ามตาข่ายแต่ละฝ่ายสามารถเล่นบอลได้ 2-3 ครั้งก่อนส่งบอลไปยังฝ่ายตรงข้าม
เกมวอลเลย์บอล
เช่นเดียวกับวิธีในข้อ 1 แต่เพิ่มคะแนนเป็น 2 คะแนนหากผู้เล่นส่งบอลข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามด้วยวิธีกระโดดหรือตบ
วิธีการฝึกเด็กหัดเล่นวอลเลย์บอลทั้งหมด 6 ตอนที่ได้นำเสนอไปนั้นผู้ฝึกสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามแนวทางของแต่ละท่านให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของเด็ก ๆ ที่ท่านจะฝึก

การฝึกวอลเลย์บอลขั้นเริ่มต้น 5 (การฝึกเล่นลูกมือบน Set-up)


ทักษะสำคัญอีกทักษะหนึ่งในการเล่นวอลเลย์บอลคือการเล่นลูกมือบนหรือการเซต ตอนนี้จะได้นำเอาแบบฝึกการเล่นลูกมือบนสำหรับฝึกเด็กนักกีฬาที่เริ่มหัดเล่น โดยกระบวนการจะเริ่มต้นจากระดับพื้นฐานเพื่อให้ผู้ฝึกสอนสามารถนำไปฝึกหัดนักกีฬาได้อย่างเป็นขั้นตอน
ขั้นตอนการฝึกเล่นลูกมือบน
1. ลักษณะการวางมือและการสัมผัสบอล
ผู้ฝึกสอนควรจัดท่าทางนักกีฬาให้ถูกต้อง
2. การสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอล
วิธีที่ 1 เลี้ยงบอลด้วย 2 มือ
วิธีที่ 2 จับลูกบอลขึ้นจากพื้นในท่าทางการเซต
วิธีที่ 3 ขว้างลูกบอลด้วยมือเดียว
3. การจัดท่าทางตำแหน่งการเซต
ขั้นที่ 1
ทุ่มลูกบอลลงพื้นแล้วเคลื่อนที่ไปจับลูกบอลในท่าทางการเซตโดยให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะ
ขั้นที่ 2 โยนลูกบอลขึ้นเหนือศีรษะแล้วจับลูกบอลในท่าการเซต
ขั้นที่ 3 โยนลูกบอลไปข้างหน้า แล้วเคลื่อนที่ไปใต้ลูกบอลหมุนตัวกลับจับลูกบอล
ขั้นที่ 4 ฝึกเหมือนขั้นที่ 3 แต่ไม่ต้องหมุนตัวกลับ
ขั้นที่ 5 ฝึกเหมือนขั้นตอนที่ 4 ใช้การย่อตัวจับลูกบอล
4. ฝึกเซตบอล
เซตบอลขึ้นเหนือศีรษะต่อเนื่องโดยไม่เคลื่อนที่
5. ฝึกเคลื่อนที่เซตบอล
โยนลูกบอลไปข้างหน้าจากนั้นเคลื่อนที่ไปเซตบอลกลับด้านหลัง
6. เคลื่อนที่เซตบอลด้านข้าง
7. หมุนตัวเซตบอล
โยนลูกบอลขึ้นเหนือศีรษะแล้วหมุนตัว 60/180/360 องศาเซตบอล
8. เคลื่อนที่เซตบอลต่อเนื่อง
เซตบอลไปข้างหน้าแล้วเคลื่อนที่ตามไปเซตบอลให้ต่อเนื่อง
9. ฝึกกระโดดเซต
โยนลูกบอลให้สูงแล้วกระโดดเซต
10. ฝึกเซตบอลไปข้างหน้า
ขั้นที่ 1
เซตบอลกระทบกำแพงแล้วปล่อยลูกบอลกระดอนพื้น 1 ครั้งแล้วเซตบอลเข้ากำแพง
ขั้นที่ 2
เซตบอลกระทบกำแพงแล้วย่อตัวเซตบอลที่กระดอนจากกำแพง
11. ฝึกเซตบอลต่อเนื่อง
ขั้นที่ 1 ย่อเซต
 
ผู้เล่น 2 คนเซตบอลให้กันโดยปล่อยลูกบอลกระดอนพื้นก่อน 1 ครั้ง
ขั้นที่ 2 นั่งเซต
ผู้เล่น 2 คนนั่งเหยียดเท้าเซตบอลให้กัน เล่นต่อเนื่อง
ขั้นที่ 3
ผู้เล่น 2 คน เซตบอลให้กัน เมื่อเซตแล้วให้ก้มเอามือแตะพื้น
ขั้นที่ 4 เคลื่อนที่ด้านข้างเซตบอล
เคลื่อนที่ไปเซตบอลด้านข้าง
ขั้นที่ 5 เซตบอล 2 จังหวะ
ผู้เล่น 2 คนเซตบอลขึ้นเหนือศีรษะก่อน 1 ครั้งแล้วจึงเซตบอลไปให้เพื่อน
ขั้นที่ 6 เซตบอล 2 จังหวะไปด้านหลัง
ผู้เล่น 2 คนเซตบอลขึ้นเหนือศีรษะ 1 ครั้ง แล้วหมุนตัว 180 องศาเซตบอลไปด้านหลัง
ในการฝึกผู้ฝึกสอนจะต้องแนะนำจัดท่าทางการเซต การเคลื่อนที่ให้ถูกต้อง และกำหนดจำนวนครั้งในการฝึกโดยขึ้นอยู่กับระดับความสามารถของนักกีฬา

การฝึกวอลเลย์บอลขั้นเริ่มต้น 4 (การฝึกเล่นลูกมือล่าง Underhand)


การเล่นลูกมือล่างในการเล่นวอลเลย์บอลเป็นทักษะพื้นฐานอย่างหนึ่งสามารถเล่นได้ 2 ลักษณะคือการเล่นด้วย 2 มือและมือเดียว โดยในตอนนี้จะเป็นการสอนวิธีการฝึกเล่นลูกมือล่างทั้ง 2 ชนิด สำหรับผู้ที่ฝึกหัดเล่น โดยแบบฝึกนี้จะเรียงลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก และในแต่ละแบบฝึกผู้ฝึกสอนควรให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง และให้นักกีฬาฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ 
แบบฝึกการเล่นลูกมือล่างสำหรับผู้หัดเล่นวอลเลย์บอล 
วิธีการฝึกเล่นลูกมือล่าง 2 มือ 
1. ลักษณะการจับมือ

2. การฝึกกำหนดตำแหน่งที่บอลกระทบแขน
วิธีฝึก                
ให้ผู้เล่นโยนบอลกระทบกำแพง แล้วปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้น ผู้เล่นบอลโดยให้ลูกบอลกระทบแขนในตำแหน่งที่ถูกต้อง 
3. ฝึกการควบคุมบอล เดาะบอล 
ขั้นที่ 1 โยนลูกบอลให้กระดอนพื้นให้ผู้เล่นฝึกส่งบอลขึ้นด้นบนทีละครั้งจนชำนาญ
ขั้นที่ 2 เมื่อผู้เล่นฝึกขั้นที่ 1 จนชำนาญแล้วให้ส่งบอลขึ้นข้างบนต่อเนื่อง (เดาะบอล) โดยไม่ต้องให้ลูกบอลตกพื้นก่อน
4. ฝึกส่งบอลไปด้านหน้า 
ขั้นที่ 1 ใช้ผู้เล่น 2 คนส่งบอลไปด้านหน้าโต้กันไปมาโดยให้ลูกบอลกระดอนพื้น 1 ครั้ง
ขั้นที่ 2 เมื่อฝึกจนชำนาญแล้วให้ผู้เล่นฝึกส่งบอลไปกระทบกำแพง โดยปล่อยให้บอลตกพื้นแล้วเล่นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ 
5. ส่งบอลไปด้านข้าง
 
6. เคลื่อนที่ส่งบอล 
ส่งบอลไปด้านหน้าแล้วเคลื่อนที่ไปเล่นบอลอย่างต่อเนื่อง 
 
ส่งบอลไปด้านข้างแล้วเคลื่อนที่ไปเล่นบอลอย่างต่อเนื่อง
 
วิธีการฝึกเล่นลูกมือล่างมือเดียว 
1. ฝึกควบคุมบอลมือเดียว 
ขั้นที่ 1 
เล่นบอลโดยปล่อยลูกบอลตกพื้น 1 ครั้งแล้วเล่นต่อเนื่อง โดยฝึกใช้แขนที่ละข้าง
 
ขั้นที่ 2 
ปฏิบัติเช่นเดียวกับขั้นที่ 1 แต่เล่นบอลสลับแขน
 
2. ส่งบอลด้วยแขนข้างเดียว 
ขั้นที่ 1
              
ให้ผู้เล่นโยนบอลกระทบกำแพง แล้วปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้น แล้วเล่นบอลด้วยมือเดียว 
ขั้นที่ 2
 
ผู้เล่น 2 คนส่งบอลด้วยมือเดียวโต้ไปมาโดยให้ลูกบอลกระดอนพื้น 1 ครั้ง 
3. ฝึกการควบคุมบอล เดาะบอล 
ขั้นที่ 1 เดาะบอลด้วยแขนข้างเดียวจนชำนาญทั้งซ้ายและขวา 
 
ขั้นที่ 2 เล่นบอลกับกำแพงด้วยแขนข้างเดียว 
 
ขั้นที่ 3 ส่งบอลด้วยแขนข้างเดียวระหว่างผู้เล่น 2 คน 
 
4. เสริฟด้วยมือล่าง 
ขั้นที่ 1 เสริฟใส่กำแพง 
 
ขั้นที่ 2 เสริฟบอลข้ามตาข่าย 
ฝึกเสริฟจากระยะต่างๆ คือ 3 เมตร 6 เมตร และ 9 เมตร 
 
ขั้นที่ 3 เสริฟลงตำแหน่งต่างๆ 
ตำแหน่งละ 10 คะแนน